ประวัติศาสตร์ความเป็นมาตำบลเมืองเก่า
จังหวัดขอนแก่น
เมืองเก่าก่อนที่จะมีการจัดตั้งเป็นตำบลมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ซึ่งเริ่มต้นครั้งเมื่อ พ.ศ.2322 กรุงสยามได้รบชนะอาณาจักรลาว ก็ได้กวาดต้อนผู้คนชาวลาวและขุนนางชาวลาว อพยพมาอยู่ที่กรุงธนบุรีซึ่งเป็นเมืองหลวง ในจำนวนขุนนางที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่กรุงธนบุรีนั้น มีนางคำแว่น บุตรสาวคนโตของท้าวพันหรือ “เพียเมืองแพน” ซึ่งรับราชการอยู่ที่เมืองธุระคม ตั้งอยู่ทางเหนือของนครเวียงจันทร์ ในปีต่อมาลูกขุนนางสาวนาม “นางคำแว่น” ก็ได้กลายเป็นพระสนมเอกของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
สามปีต่อมา พ.ศ.2325 เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ขึ้นครองราชย์เป็นราชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีโยบายจัดตั้งเมืองเพิ่มขึ้นเพื่อให้อาณาจักรเป็นบึกแผ่นและเพิ่มจำนวน ส่วยบรรณาการมากขึ้น ท้าวเพียเมืองแพน แห่งเมืองธุระคม แขวงเวียงจันทร์ ได้ทราบข่าวว่านางคำแว่นบุตรสาวของตนได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 1 จึงได้พาสมัครพรรคพวกไพร่พลข้ามแม่น้ำโขงมาพักอาศัยอยู่ในเขตเมืองสุวรรณภูมิ คือ บริเวณบ้านโนนทอง ริมหนองขอนแก่น เจ้าจอมคำแว่นขณะนั้นเป็นสนมเอกรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้กราบบังคมทูลกรุณาขอให้ท้าวเพียเมืองแพน บิดาของตนให้เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น ขึ้นตรงกับเมืองนครราชสีมา นี่คือจุดกำเนิดของตำบลเมืองเก่า จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางภาคอีสานในเวลาต่อมา
ชุมชนเมืองเก่าหรือในอดีตเรียกว่าบ้านหนองขอนแก่น ขรแก่น เป็นชุมชนเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วเป็นชุมชนที่ประกอบอาชีพ กสิกรรมทำนา ทำไร่ ทำสวน บริเวณริมบึง ขรแก่น เป็นป่าครึมเต็มไปด้วย ต้นหมาก ต้นมะพร้าว ที่อุดมสมบูรณ์ มีหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่อยู่ริมบึงขรแก่น มีบ้านโนนทอง บ้านโนนทัน และบ้านพระลับ
ปี พ.ศ. 2332 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวเพียเมืองแพนเป็นเจ้าเมืองขรแก่นได้ก่อสร้างวัดขึ้น จำนวน 3 วัด ตามประเพณีการปกครอง , วัดเหนือ คือวัดหนองแวง วัดกลาง ซึ่งนิยมสร้างติดกับจวนเจ้าเมือง , วัดธาตุโนนทอง หรือชาวบ้านเรียกต่อมาว่าวัดธาตุ ซึ่งแต่ละวัดมีบทบาทหน้าที่ต่างกัน
ปี พ.ศ.2439 เจ้าจอมคำแว่นทำความดีความชอบ จึงได้รับโปรดเกล้าเป็นท้าวเสือ เห็นว่าเมืองขอนแก่น ได้ทดลองทำราชการส่งส่วยต่อเมืองนครราชสีมา เป็นเวลาพอสมควรแล้วรัชกาลที่ 1 จึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งเมืองขอนแก่น ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และได้แต่งตั้งท้าวเพียเมืองแพน เป็น “พระนครศรีบริรักษ์” เจ้าเมืองขอนแก่น ในปี พ.ศ.2340 หลังจากก่อตั้งเมืองขอนแก่น ชุมชนและหมู่บ้านต่าง ๆ ก็ได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนบ้านดอนบม บ้านกุดกว้าง บ้านพระลับ โดยเฉพาะชุมชนเมืองเก่า ซึ่งเป็นแหล่งก่อตั้งเมือง ก็มีคนหนาแน่นขึ้น
ปี พ.ศ.2434 ท้าวเพียเมืองแพนถึงแก่กรรมและมิได้มีใครสืบทอดเป็นเจ้าเมือง เนื่องจากท้าวจามซึ่งเป็นบุตรชายได้เสียชีวิตก่อนหน้าแล้ว จึงแต่งตั้งท้าวคำบ้ง ซึ่งเป็นบุตรเขยท้าวเพียเมืองแพน เป็นเจ้าเมืองต่อมา และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น “พระนครศรีบริรักษ์” ที่ 2 ต่อมาท้าวคำยวงหลานของท้าวเพียเมืองแพนเสียชีวิตก่อนท้าวคำยวงมีถิ่นกำเนิด เป็นคนบ้านดอนพันชาติ จึงย้ายเมืองไปอยู่ดอนพันชาติ บริเวณบ้านโนนเมือง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันไดรับแต่งตั้งเป็น “พระนครศรีบริรักษ์” ที่ 3 ในปี พ.ศ.2378
ท้าวหนู ซึ่งเป็นบุตรของท้าวจามหลานของท้าวเพียเมืองแพน ถึงแม้นจะไม่ได้แต่งตั้งเป็นอุปราชก็ได้ขึ้นครองเมืองต่อจากท้าวคำยวง ในปี พ.ศ.2378 และได้โปรดเกล้าฯ เป็น “พระนครศรีบริรักษ์” ที่ 4 ท้าวอินซึ่งเป็นบุตรของท้าวคำยวงเจ้าเมืองคนที่ 3 ได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองและได้ย้ายเมืองกลับมาอยู่ที่ บ้านโนนทัน ทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น ในปัจจุบัน และรับท้าวอู๋เป็นหลวงศรีวงศ์ เป็นผู้ช่วยเจ้าเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน ท้าวมุ่งซึ่งเป็นพี่ชายท้าวอิน เป็นอุปราช และได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท้าวอินเป็น “พระนครศรีบริรักษ์” ที่ 5 ต่อมาท้าวมุ่งซึ่งเป็นพี่ชายท้าวอินก็ได้เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น ท้าวจันชมพู ซึ่งเป็นราชบุตรได้ถึงแก่กรรม จึงแต่งตั้งท้าวอู๋ซึ่งเป็นเพียงผู้ช่วยเจ้าเมือง เป็นราชบุตรแทนเพื่อต้องการให้ท้าวอู๋นำทัพจากเมืองขอนแก่นไปตีทัพฮ่อที่บุก หลวงพระบางและนครเวียงจันทร์ ตามพระบรรชาของ รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท้าวอู๋ได้นำทัพจากเมืองขอนแก่นไปตีทัพฮ่อจนได้รับชัยชนะถึง 3 ครั้ง และได้รับความดีความชอบ รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท้าวอู๋ เป็น พระยานครศรีบริรักษ์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เหนือกว่าพระนครศรีบริรักษ์ (ท้าวมุ่ง) ซึ่งถือว่าเมืองขอนแก่นขณะนั้นมีเจ้าเมืองอยู่ 2 ท่าน เคยมีปฏิบัติมาก่อนเป็นการปกครองแบบประเทศราชกับนครหลวงพระบาง ท้าวมุ่งได้ถือแก่กรรมในปี พ.ศ.2424 ท้าวอู๋ก็ได้เป็นเจ้าพระยาเมืองเพียงท่านเดียว จากบ้านโนนทันมาตั้งเมืองอยู่ที่บ้านดอนบมริมแม่น้ำชี ได้ก่อตั้งจวนเจ้าเมือง และวัดเหนือ วัดกลาง วัดใต้ ตามประเพณีก่อตั้งเมืองแต่โบราณ และมีการค้าขายกับต่างเมืองโดยทางน้ำ โดยใช้แม่น้ำชีเป็นทางสัญจรไปมา
เนื่องจากท้าวจันศรีสุราช เป็นราชวงศ์ของท้าวมุ่ง “พระนครศรีบริรักษ์” ที่ 6 ขอเลื่อนเป็นอุปราชได้ จึงขอแยกเมืองไปตั้งอยู่ที่บริเวณ บ้านทุ่ม ห่างจากบ้านดอนบม 16 กิโลเมตร ดังบันทึกในเอกสารรายงานต่อข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑล มีความขัดแย้งระหว่าง 2 เมือง มีการแย่งไพร่พลเพื่อเก็บส่วย มีการร้องเรียนซึ่งกันและกันไปยัง กรุงเทพมหานครมากมายจนในที่สุด พลตรีกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม จึงเกลี่ยกล่อมหาข้อยุติ ซึ่งในขณะนั้นเริ่มมีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินบ้างแล้ว โดยให้ท้าวอู๋ หรือ “พระยานครศรีบริรักษ์” ที่ 7 ย้ายเมืองจากบ้านดอนบมไปอยู่บ้านทุ่ม และเป็นเจ้าเมืองโดยให้ ท้าวจันศรีสุราช เป็นอุปราช
ต่อมา รัชกาลที่ 5 มีนโยบายจะก่อสร้างทางรถไฟและสายโทรเลขไปตามหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งสายโทรเลขและทางรถไฟจะผ่านทางเมืองพลและบ้านท่าพระ จึงมีการย้ายเมืองมาอยู่ที่บ้านเมืองเก่าเช่นเดิมในขณะเดียวกันมีการจัดรูป แบบการปกครองแบบใหม่ หัวเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเมือง เมืองภูเวียง เมืองชนบท เมืองมัญจาคีรี เมืองน้ำพองน้อย เมืองขรแก่น ก็รวมกันเป็นจังหวัด โดยยุบหัวเมืองต่าง ๆ ให้เป็นอำเภอ ส่วนขอนแก่นให้เป็นจังหวัด หมู่บ้านเล็กหมู่บ้านน้อยก็รวมกันเป็นตำบล บ้านโนนทัน บ้านโนนทอง บ้านพระลับ บ้านดอนบม บ้านกุดกว้าง ให้เป็นตำบลเมืองเก่า ซึ่งเป็นสถานที่ก่อตั้งเมือง กำเนิดเป็นตำบลเมืองเก่าตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ลักษณะการปกครอง หลังจากยกเมืองขอนแก่นเป็นจังหวัดขอนแก่นแล้ว ท้าวอู๋ หรือ “พระยาศรีบริรักษ์” ที่ 7 ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นจัดการปกครองในเขตเมือง ขอนแก่น ในปี พ.ศ.2442 ให้ นายทินนคร ซึ่งย้ายมาจากบ้านทุ่มเป็นนายอำเภอ ต่อมาลักษณะการปกครองอำเภอเมืองมีความสำคัญมากขึ้น ขุนหลวงพิทักษ์สารนิคม ก็ได้เป็นนายอำเภอเมืองขอนแก่น ในปี 2450 และแต่งตั้งให้ข้าราชการที่ใกล้ชิดเป็นกำนันตำบลเมือง คือ ขุนโบราณ บุราณรักษ์ เป็นกำนันตำบลเมืองเก่า ซึ่งก่อนหน้านี้การปกครองแบบหัวเมือง มีการปกครองลักษณะกลุ่มหมู่บ้านแบบกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มี กำนันขุนพัน กำนันขุนอาจ และกำนันขุนบุรี ซึ่งกำนันทั้ง 3 ท่าน ปกครองตำบลเมืองเก่าอยู่ในช่วงระหว่างเมืองขอนแก่นตั้งอยู่บ้านดอนบม ก่อนจะย้ายไปอยู่บ้านทุ่ม หลังจากย้ายบ้านทุ่มมาอยู่ที่เมืองเก่าก็มี ขุนโบราณ บุราณรักษ์ เป็นกำนัน ซึ่งถือว่าการกำเนิดตำบลเมืองเก่าได้กำเนิดหลังจากขุนโบราณ บุราณรักษ์ เป็นกำนัน และมีการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต่อจากนั้นเรื่อยมา จนถึง ปี พ.ศ.2473 ก็มีพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ มีพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล ในปี 2538 ซึ่งมีคณะบริหารทั้งฝ่ายสภาและฝ่ายบริหารดังนี้
รายชื่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า 1. นายช่วย พล เสนา พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2531 2. นายไสว สร้อย สุด พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542 3. นายชุมพล พวงพิ ลา พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544 4. นายอัครพล บุญยกาญจนพล พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2546 5. นายชุมพล พวงพิ ลา พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550
รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า 1. นายศักดิ์นรินทร์ แก้วนา พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2540 2. นายเกรียงไกร เฟื่องทอง พ.ศ. 2540 - 18 ก.ค. พ.ศ. 2544 3. นายอัครพล บุญยกาญจนพล 15 มี.ค. พ.ศ. 2547 - 29 ส.ค. 2550
ในต่อมาได้อาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2546 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เป็นเทศบาลตำบลเมืองเก่า ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมา โดยมีคณะบริหารทั้งฝ่ายสภาและฝ่ายบริหารดังนี้
รายชื่อประธานสภาเทศบาลตำบลเมืองเก่า 1. นายประดิษฐ์ อุ่นสิม 24 มี.ค. 2551 - ก.พ. 2555 2. นายธนบรรณ อาจต้น 23 ก.พ. 2555 - ปัจจุบัน
รายชื่อนายกเทศมนตรีตำบลเมืองเก่า 1. นายโกเมศ ทีฆธนานนท์ 24 ก.พ. 2551 - 19 ก.พ.2555 2. นายวิทิต ทองโสภิต 19 ก.พ. 2555 - 29 ม.ค.2564
|